วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 5

สัปดาห์ที่ 5
บันทึก สัปดาห์ที่ 5
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 5 ธันวาคม พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 5 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุด วันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ค่ะ 

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 4
บันทึก สัปดาห์ที่ 4
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 4 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234
          ชั่วโมงที่ 4 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มนำเสนองานทั้งหมด 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด
กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต
กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต
กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

          กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
กลุ่มที่ 1 มีการนำเสนอที่ชัดเจน รู้เกี่ยวกับความหมายของจำนวน ความหมายของการดำเนินการ รู้เกี่ยวกับคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3-5 ปี มีการยกตัวอย่างประกอบการนำเสนอ

ตัวอย่างที่ 1 มีรูปดอกไม้ 2 ดอก ให้เด็กนำจำนวนแล้วตอบ
ตัวอย่างที่ 2 มีรูปดินสอ 4 แท่ง ให้เด็กนำจำนวนแล้วตอบ


กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด
กลุ่มที่ 2 มีการบอกถึงเด็กปฐมวัยว่าเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์บ้าง การวัดมีหลากหลายรูปแบบ วัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรสิ่งของ การะคาดคะเนความยาว น้ำหนักปริมาตร การบอกเวลา นาที วัน เดือน ปี และจำนวน
กลุ่มนี้ได้มีวีดีโอการสอนการวัดการโทรทัศน์ครูมาให้เพื่อนๆดู


กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต
กลุ่มที่ 3 พีชคณิตเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่เพื่อนก็ได้นำเสนอแบบเจาะจงโดยการนำเสนอพีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย เน้น รูปร่างและความสัมพันธ์ในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการยกตัวอย่างประกอบการนำเสนอ
ตัวอย่างที่ 1 การแยกรูปร่าง และการแยกสี
ตัวอย่างที่ 2 การแยกขนาดของแอปเปิ้ล

กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต
กลุ่มที่ 4 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเรขาคณิต ความหมายของรูปร่าง และความหมายของรูปทรง และยังมีการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรงนั้นสำคัญอย่างไร มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร


กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
กลุ่มที่ 5 กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช่ความเข้าใจในการนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่น 1  2  3  ..  5  ความน่าจะเป็นของ .. ก็คือ เลข 4   ,   o  oo  ..  oooo oooo ความน่าจะเป็นของ .. คือ ooo

วิดีการนำเสนองาน

         

        ความรู้ที่ได้รับ
        ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ จำนวนและการดำเนินการ การวัด พีชคณิต เรขาคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  และยังได้เรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กสามารถเป็นคณิตศาสตร์ได้ทั้งหมด

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 3
บันทึก สัปดาห์ที่ 3
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
       ครั้งที่ :
  กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234

          ชั่วโมงที่ 3 อาจารย์ได้บอกถึงจุดมุ่งหมายของการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และคำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

          จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การจำคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กด้วยว่ามี 7 ขั้น คือ 
- การสังเกต (Observation)
- การจำแนกประเภท (Classifying)
       อย่างเช่น
       รูปที่ 1
       จะมีรูปวงกลมวงเล็กอยุ่หลายๆวงเด็กก็จะสามารถจำแนกประเภทได้ ดังนี้
       รูปที่ 2
       จะมีรูปวงกลมวงเล็กและรูปสามเหลี่ยมอยู่ เด็กก็จะสามารถจำแนกประเภทได้ ดังนี้



- การเปรียบเทียบ (Comparing)
       อย่างเช่น
       รูปที่ 1
       จะมีรูปลูกบอล 1 ลูก กับ รูปลูกเทนนิส 1 ลูก เด็กก็จะสามารถเปรียบเทียบในเรื่องของสี ขนาด ลักษณะ ฯลฯ

       รูปที่ 2
       จะมีรูปกระต่าย กับ รูปช้าง เด็กก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า มีหูเหมือนกัน มีตาเหมือนกัน กระต่ายหางสั้นกว่าช้าง ช้างมีงวงแต่กระต่ายมีฟัน ฯลฯ

- การจัดลำดับ (Ordering)
       อย่างเช่น
       รูปที่ 1
       จะมีรูปลูกบอลอยู่ 3 ลูก แต่ล่ะลูกจะมีขนาดที่แตกต่างกัน เด็กก็จะสามารถจัดลำดับได้ ดังนี้
       1.จากเล็กไปใหญ่
       2.จากใหญ่ไปเล็ก
       รูปที่ 2
       จะเป็นรูปลำดับการเติบโตของเมล็ดพืชตามลำดับ

- การวัด (Measurement)
       อย่างเช่น
       รูปที่ 1
       จะมีรูปเชือก 2 เส้น สีแดง กับ สีเขียว ซึ่งรูปสีแดงจะเป็นเส้นหยัก ส่วนเส้นสีเขียวจะเป็นเส้นตรง เด็กจะมองว่าสีเขียวนั้นยาวกว่าสีแดง

       รูปที่ 2
       จะเป็นรุปเด็กชายคนหนึ่งแล้วข้างรูปเด็กชายจะมีรุปไม้บรรทัดอยู่ การวัดของเด็ก)ฐมวัยก็จะมองว่า
       เด็กชายนั้นสูงเท่าไม้บรรทัด 2 อัน
       เด็กชายสูงเท่าตุ๊กตาหมี 3 ตัว 

- การนับ (Counting)
- รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

          คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1.ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
2.ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
3.รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
4.ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
5.ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
6.ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
7.อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

       รูปนี้เป็นรูปปู
       ปูมีตา 2 ดวง ตาของปูมันกลม ตาข้างในสีดำนั้นเล็กกว่าตาสีขาว ปูมี 8 ขา ขาของปูยาวไม่เท่ากัน ปูมีก้าม 2 ข้าง ปุเป็นสัตว์น้ำ ในรูป 1 รูปเด็กสามารถบอกออกมาได้หลายรูปแบบ

          กิจกรรมวันนี้  อาจารย์แจกกระดาษคนล่ะ 1 แผน แล้วให้นักศึกษาทุกคนวาดวงกลมไว้ตรงกลางแล้วเขียนเลขที่ชอบไว้ขางใน เลข 1-10 เลขอะไรก็ได้ 1 เลข โดยดิฉันได้เขียนเลข 7 ลงไป จากนั้นอาจารย์ก็ให้วาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนที่เขียน แล้วแจกกระดาษให้มาตัดทำเป็นกลีบของดอกไม้


          ความรู้ที่ได้รับ 
          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และคำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ที่จะต้องนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในทุกๆด้าน

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 2
บันทึก สัปดาห์ที่ 2
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 2 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234

          ชั่วโมงที่ 2 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย จึงไปถามเนื้อหาการเรียนวันนี้จาก นางสาวชนากานต์ มีดวง ว่าวันนี้มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับทฤษฎี สอนความหมาย ระบบความคิดของมนุษย์ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน  ความสำคัญของรายวิชานี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และได้พูดถึงทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของเพียเจต์ การนับ การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร เรียงลำดับ จัดกลุ่ม

          ความสำคัญของคณิตศาสตร์
1. เกี่ยวข้อง และสำพันธ์กับชีวิตประจำวัน
2.ส่งเสริมกระบวนการคิด และแก้ปัญหา โดยเฉพาะหลักการทางคณิตศาสตร์
3.เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
4.เป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี

          ความรู้ที่ได้รับ
        ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ได้เรียนรู้ทฤษฎี ความหมาย ระบบความคิดของมนุษย์ ได้รู้วิธีการคิดของเด็ก 

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 1
บันทึก สัปดาห์ที่ 1
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 07 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 1 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234

          ชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกเอกสารแนวการสอน และอธิบายความหมายและรายละเอียด การประเมินผล เกี่ยวกับการเรียนวิชานี้ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ทุกคนทำ My Mapping เขียนเกี่ยวกับความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


 


          ความรู้ที่ได้รับ
          ทำให้เราได้แสดงความรู้ความคิดเห็นต่อ วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเราเข้าใจว่าเป็นแบบไหน ก่อนที่อาจารย์จะสอน