วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 13

สัปดาห์ที่ 13
บันทึก สัปดาห์ที่ 13
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี :  30 มกราคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 13 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234
 


       
ชั่วโมงที่ 13 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอ สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยกลุ่มดิฉันได้นำเสนอสื่อชื่อ เกมนับจำนวนสัตว์  


วิธีการเล่นสื่อ
ครูให้เด็กหาตัวเลข 1-5 จากภาพ แล้วนำไปใส่ช่องบล็อกเด็กนับจำนวนสัตว์ในภาพต่างๆ ให้เด็กๆหาภาพสัตว์ ที่มีจำนวนตรงกับภาพตัวเลขนั้นๆ ให้เด็กๆหยิบภาพสัตว์ต่างๆตามจำนวนไปใส่ไว้ข้างหลังตัวเลข

เมื่อเด็กเล่นแล้วได้ผลอย่างไร
          เด็กมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาสูง อธิบายการเล่นเกมเพียงครั้งเดียว เด็กสามารถเข้าใจและ รับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ขณะที่เล่นเด็กอ่านออกเสียงนับตัวเลขไปด้วย เวลาหา ภาพสัตว์เด็กจะพูดออกมาว่านี่คือตัวอะไร และเด็กสามารถตอบคำถามของเราได้อย่างถูกต้อง

ปัญหาที่พบ
ไม่พบปัญหาเพราะเด็กเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีความจำที่ดี 

สรุป
เด็กสามารถนับเลขได้ บอกจำนวนสัตว์ในภาพต่างๆได้ โดยการนับ เด็กเกิดการเรียนรู้การนับจำนวน การอ่านตัวเลข ทั้งเรียนรู้สิ่งรอบตัว เช่น ธรรมชาติ รู้จักสัตว์ต่าง ๆ รู้จักสีต่างๆในภาพ ทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญา


สื่อที่ชอบมากที่สุด
"ลูกคิดสายรุ้ง"
 ของกลุ่ม น.ส. ศิริวรรณ กรุดเนียม และ น.ส.ขวัญฤทัย  ใยสุข
ที่ชอบก็เพราะว่า กบุ่มนี้มีการนำวัสดุที่เหลือใช้หรือวัสดุที่ใช้แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการนำขวดฝาน้ำที่เหลือใช้มาเป็นลูกคิด ที่สามารถนำมานับ 1-10 ได้ และสามารถแยกสีของฝาขวดได้ 

 ความรู้ที่ได้รับ
ได้เห็นสื่อต่างๆที่แปลกใหม่ ที่ได้จากไอเดียของเพื่อนๆทุกคน ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และใช้ได้จริง ถึงแม้สื่นบางอันที่ยังไม่เข้าตา แต่ถ้าหากนำไปประยุกต์ก้จะสามารถทำให้เกิดสื่อใหม่และน่าเล่นได้  และวัสดุที่ใช้กับเด็กนั้นต้องปลอดภัย ไม่เล็ก และไม่ใหญ่จนเกินไป ใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทาน และการผลิตสื่อนั้นควรผลิตให้เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก 




บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 12

สัปดาห์ที่ 12
บันทึก สัปดาห์ที่ 12
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี :  23 มกราคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 12 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234
 


         
ชั่วโมงที่ 12 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์สอนให้นักศึกษาฝึกเขียน การเขียนแผนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเขียนแผนในวิชานี้เป็นการสอดแทรกในกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งเป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ ลงไปในการจัดกิจกรรมในการเขียนแผน

ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง  
แผนกลุ่ม



แผนเดี่ยว




ความรู้ที่ได้รับ
ได้เรียนรู้ขั้นตอนการเขียนแผนการเรียนการสอนที่สามารถนำวอชาคณิตศาสตร์มาบูรณาการได้และนอกจากวิชาคณิตศาสตร์อล้วยังสามานำวิชาอื่นๆมาบูรณาการได้ด้วยเช่นกัน 








บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 11

สัปดาห์ที่ 11
บันทึก สัปดาห์ที่ 11
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี :  16 มกราคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 11 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 11 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์สอนให้ทำรูปตัวหนอนในสาระที่ 3 คือเรขาคณิต โดยที่อาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู  

และนี้คือรูป น้องหนอน จากกลุ่มเราเองค่ะ กลุ่มเราใช้หลักการ การนำสีมาเป็นเซ็ต มาต่อกัน เป็นสีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีส้ม



ผลงานของเพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่มค่ะ ไอเดียสวยงาม หลากหลายรูปแบบ







      กิจกรรมถัดมา คือ สาระที่ 5 ความน่าจะเป็น โดยมีตัวอย่างมา 3 แบบ แล้วแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มในห้อง ให้ตัวแทนมาจับฉลากหมายเลข 3 คือ วงกลม หมายเลข 1 คือตาราง หมายเลข 2 แผนภูมิ โดยกลุ่มดิฉันได้หมายเลข 2 คือ แผนภูมิ จึงเสนอความคิดเห็นกับเพื่อนว่าจะ สำรวจสีที่เด็กๆชอบ โดยทำแผนภูมิออกมาดังนี้ 

กิจกรรมตารางเปรียบเทียบ แผนภูมิ
เด็กได้สำรวจความชอบของเพื่อน ว่าเพื่อนในห้องเรียนชอบสีไหนมาที่สุด

แผนภูมิแท่ง  
เด็กได้เรียนรู้และรู้จัก ระหว่าง สัตว์บก กับ สัตว์น้ำ

ตารางเปรียบเทียบ
เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่าง เครื่องบิน กับ เรือ 

ความรู้ที่ได้รับ 
      ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องเรขาคณิตและความน่าจะเป็น เราสามารถนำ กิจกรรมตารางเปรียบเทียบแผนภูมิ แผนภูมิแท่ง  ตารางเปรียบเทียบ ไปใช้สอนกับเด็กได้ในทุกเรื่อง และยังนำไปใช้ในการสำรวจความชอบและความรู้พื้นฐานของเด็กได้อีกด้วย




บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 10

สัปดาห์ที่ 10
บันทึก สัปดาห์ที่ 10
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี :  9 มกราคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 10 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


          ชั่วโมงที่ 10 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์สอนให้แต่งนิทาน

นิทาน เรื่อง สามเกลอเจอแก๊ส
       
กาลครั้งหนึ่ง มีเพื่อน 3 สหาย ชื่อว่า เจ้าวงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ทั้ง 3 คนมีบุคคลิกที่แตกต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้ วันหนึ่งเพื่อน 3 คนนี้ไปเที่ยวผับกัน แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็เกิดความหงุดหงิด เพราะที่นั่นเสียงดัง เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ไม่สนใจใยดี ส่วนเจ้าวงกลมมัวแต่ไปจีบสาวอยู่  คนในผับกำลังเค้าท์ดาวอยู่ แต่แล้วก็มีแก๊สน้ำตาโยนเข้ามาในผับ เจ้าสี่เหลี่ยมเป่านกหวีดเรียก บอกให้เพื่อนๆ อยู่ในความสงบ เจ้าวงกลมตะโกนบอกเพื่อนๆ ให้เอาผ้าปิดจมูก สามเหลี่ยมวิ่งออกไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา และทุกคนก็แยกย้ายกลับบ้าน

เมื่อแต่งเสร็จอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่ม จับฉลากว่าใครจะได้หน้าไหน
กลุ่มเราได้หน้า 4  ผลงานของกลุ่มเรา 

และนี้คือผลงานของเพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่มค่ะ









ผลงานของเพื่อนๆทุกคนมีสีสันและสไตล์การตกแต่งที่แตกต่างกันไป ทำให้นิทานมีสีสันและสนุกสนานมากขึ้นค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งนิทาน ที่กำหนดตัวละคร มาให้เด็กๆได้ ใช้ความคิดและจินตนาการร่วมกัน จนออกมาเป็นเรื่องราว อย่างสนุกสนาน และได้ใช้ความคิดอย่างอิสระ อีกด้วย เด็กยักได้เรียนรู้ การนำรูปทรงมาแต่งเป็นตัวละครน่ารักๆ ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน











บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 9

สัปดาห์ที่ 9
บันทึก สัปดาห์ที่ 9
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี :  2 มกราคม  พ.ศ.2557
       ครั้งที่ : 9 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันปีใหม่ 



Glitter วันปีใหม่




บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 8

สัปดาห์ที่ 8
บันทึก สัปดาห์ที่ 8
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 26 ธันวาคม พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 8 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 7

สัปดาห์ที่ 7
บันทึก สัปดาห์ที่ 7
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 19 ธันวาคม พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 7 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

บันทึกการเรียน การสอน สัปดาห์ที่ 6

สัปดาห์ที่ 6
บันทึก สัปดาห์ที่ 6
       วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 12 ธันวาคม พ.ศ.2556
       ครั้งที่ : 6 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
       เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234


ชั่วโมงที่ 6 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย จึงไปถามเนื้อหาการเรียนวันนี้จาก นางสาวชนากานต์ มีดวง ว่าวันนี้มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย การวัด จำนวนและการดำเนินการ เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น และเรื่องสุดท้าย ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น นับจำนวน 1-20 ได้ เข้าใจหลักการ การนับ รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก และเลขไทย
2.มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
3.มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ
4.มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง 
6.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบ แผนภูมิอย่างง่าย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียน จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม เด็กสามารถบอกได้ว่าของแต่ล่ะชิ้นมีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น ตุ๊กตากระต่ายและหมีมีจำนวนที่ไม่เท่ากัน

สาระที่ 2 การวัด (Measurement)
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เด็กได้เรียนรู้การวัดการตวง การชั่งของเด็กปฐมวัย ไม่มีหน่วย

สาระที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)
รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง  รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ

สาระที่ 4 พีชคณิต (Algebra)
เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง เด็กสามารถเข้าใจความสัมพันธ์กันของรูปได้

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)
 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชายกี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทาง  คณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ 

ความรู้ที่ได้รับ
      ได้เรียนรู้เดียวกับ คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยได้รู้ว่าเมื่อเรียนวิชาคณิตศาสตร์แล้วเด็กจะได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง เด็กสามารถนำเรื่องที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของการวัด จำนวนและการดำเนินการ เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น และเรื่องสุดท้าย ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์