สัปดาห์ที่ 6
บันทึก สัปดาห์ที่ 6
วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 12 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ : 6 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234
บันทึก สัปดาห์ที่ 6
วิชา : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 12 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ : 6 กลุ่มเรียน : 103 (วันพฤหัสบดี : เช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30-12:20 ห้องเรียน : 234
ชั่วโมงที่ 6 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย จึงไปถามเนื้อหาการเรียนวันนี้จาก
นางสาวชนากานต์ มีดวง ว่าวันนี้มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย การวัด จำนวนและการดำเนินการ เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล
และความน่าจะเป็น และเรื่องสุดท้าย ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
เช่น นับจำนวน 1-20 ได้ เข้าใจหลักการ การนับ รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก และเลขไทย
2.มีความรู้
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
3.มีความรู้
ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ
4.มีความรู้
ความเข้าใจ แบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
6.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบ แผนภูมิอย่างง่าย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
(Number and Operations)
ตัวเลขฮินดูอารบิก
และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียน จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม เด็กสามารถบอกได้ว่าของแต่ล่ะชิ้นมีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น ตุ๊กตากระต่ายและหมีมีจำนวนที่ไม่เท่ากัน
สาระที่ 2 การวัด (Measurement)
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เด็กได้เรียนรู้การวัดการตวง การชั่งของเด็กปฐมวัย ไม่มีหน่วย
สาระที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)
รู้จักการใช้คำศัพท์
ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต
และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต (Algebra)
เข้าใจแบบรูป
และความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง เด็กสามารถเข้าใจความสัมพันธ์กันของรูปได้
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล
และความน่าจะเป็น (Data Analysis and
Probability)
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง
และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชายกี่คน
มีนักเรียนหญิงกี่คน
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทาง คณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
ความรู้ที่ได้รับ
ได้เรียนรู้เดียวกับ คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยได้รู้ว่าเมื่อเรียนวิชาคณิตศาสตร์แล้วเด็กจะได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง เด็กสามารถนำเรื่องที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องของการวัด จำนวนและการดำเนินการ เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น และเรื่องสุดท้าย ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น